วัดพันอ้น
ถนนราชดำเนิน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
1768. พระเจดีย์สารีริกธาตุสิริรักษ์ แห่ง วัดพันอ้น
1771. พระุพุทธชินราช พระพุทธมงคลมหามุนี พระประธานพระอุโบสถวัดพันอ้น
1713. พระอุโบสถ วัดพันอ้น
1699. วัดพันอ้น ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
1698. วัดพันอ้น
ณ.เวลา 12.30 น. ของ วันจันทร์ ที่ 21 เดือน กันยายน พ.ศ.2552 ยังมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมาเที่ยววัดพันอ้น ประปราย
1697. วัดพันอ้น
1700. ถนนราชดำเนิน บริเวณหน้า วัดพันอ้น
1701. ถนนราชดำเนิน บริเวณหน้าวัดพันอ้น
1702. ถนนราชดำเนิน บริเวณหน้าวัดพันอ้น
ถ้าเป็นวันอาทิตย์ ถนนแห่งนี้ก็จะกลายเป็น ศูนย์การค้า "ถนนคนเดิน" ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงใหม่
1703. ถนนราชดำเนิน ซอย.4
1704. ถนนราชดำเนิน ซอย.4
1705. พระวิหาร แห่ง วัดพันอ้น
1709. พระวิหาร แห่ง วัดพันอ้น
1710. พระวิหาร พระเจดีย์ และ ศาลา
1711. พระวิหาร / พระอุโบสถ แห่ง วัดพันอ้น
1712. พระวิหาร แห่ง วัดพันอ้น
1713. พระวิหาร แห่ง วัดพันอ้น
1717. พระวิหาร แห่ง วัดพันอ้น
1778. พระวิหาร แห่ง วัดพันอ้น
1780. พระวิหาร แห่ง วัดพันอ้น
1782. พระวิหาร แห่ง วัดพันอ้น
1783.พระวิหาร แห่ง วัดพันอ้น
1784.พระวิหาร แห่ง วัดพันอ้น
1785. พระวิหาร แห่ง วัดพันอ้น
1771. เชิญนมัสการ พระประธานในพระอุโบสถวัดพันอ้น
1767. พระประธาน ใน พระอุโบสถ วัดพันอ้น
1. พระพุทธชินราช
2. พระพุทธมงคลมหามุนี
และ
3. ชมภาพจิตรกรรมฝาผนัง สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง
1719. วัดพันอ้น
ประวัติ วัพพันอ้น
วัดพันอ้น สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2044 ในรัชสมัยของพระเมืองแก้วกษัตริย์ แห่ง ราชวงศ์มังราย คำว่า "พันอ้น" นั้น สันนิษฐานได้ว่าเป็นชื่อผู้สร้างวัดเพื่อถวายไว้กับพระพุทธศาสนา ผู้สร้างคงจะเป็นทหารหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์เป็น "พัน" และ มักจะนำชื่อตนเอง หรือ สถานที่บริเวณนั้นๆ เป็นชื่อของวัดที่ตนสร้างขึ้น และ คงมีนามว่า "อ้น" เมื่อสร้างวัดแห่งนี้เสร็จจึงให้มีนามว่า "วัดพันอ้น"
บริเวณที่ตั้งวัดพันอ้น เดิมมีวัดอยู่บริเวณใกล้เคียงชื่อ วัดเจดีย์ควัน อยู่ทางทิศตะวันตก แต่ละวัดมีขนาดเล็ก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใกล้เคียงกัน คือ สมัยพระเมืองแก้ว ซึ่งเป็นยุคที่ล้านนามีความเจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปวัฒนธรรม มีการสร้างวัดวาอารามขึ้นมามากมาย ในสมัยของพระองค์ ต่อมาทั้งสองวัดได้รวมเป็นวัดเดียว แต่มักเรียกง่ายๆว่า "วัดพันอ้น"
1723. พระประธาน ใน พระอุโบสถ วัดพันอ้น
1724. พระประธาน ใน พระอุโบสถวัดพันอ้น
1725. พระประธาน ใน พระอุโบสถ วัดพันอ้น
1726. พระประธาน ใน พระอุโบสถ วัดพันอ้น
1727. พระประธาน ใน พระอุโบสถ วัดพันอ้น
1728. พระประธาน ใน พระอุโบสถ วัดพันอ้น
1729. พระประธาน ใน พระอุโบสถ วัดพันอ้น
1731. พระประธาน ใน พระอุโบสถ วัดพันอ้น
1732. พระประธาน ใน พระอุโบสถ วัดพันอ้น
1733.พระประธาน ใน พระอุโบสถ วัดพันอ้น
1755. พระประธาน ใน พระอุโบสถ วัดพันอ้น
1765. พระประธาน ใน พระอุโบสถ วัดพันอ้น
1766. พระประธาน ใน พระอุโบสถ วัดพันอ้น
1767. พระประธาน ใน พระวิหาร แห่ง วัดพันอ้น
1768. พระเจดีย์สารีริกธาตุสิริรักษ์
1770. พระเจดีย์สารีริกธาตุสิริรักษ์ แห่ง วัดพันอ้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน นามเจดีย์วัดพันอ้น อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ว่า
"พระเจดีย์สารีริกธาตุสิริรักษ์ "
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2550
1772. พระเจดีย์สารีริกธาตุสิริรักษ์ แห่ง วัดพันอ้น
1773. พระเจดีย์สารีริกธาตุสิริรักษ์ แห่ง วัดพันอ้น
1774. พระเจดีย์สารีริกธาตุสิริรักษ์ แห่ง วัดพันอ้น
1766. พระพุทธรูป ประดิษฐานอยู่ที่ พระเจดีย์สารีริกธาตุสิริรักษ์ แห่ง วัดพันอ้น ด้านทิศตะวันออก
1777. คำไหว้ พระเจดีย์สารีริกธาตุสิริรักษ์
1786. พระเจดีย์สารีริกธาตุสิริรักษ์ แห่ง วัดพันอ้น
1793. พระเจดีย์สารีริกธาตุสิริรักษ์ แห่ง วัดพันอ้น
1798. พระพุทธรูป ประดิษฐานที่ พระเจดีย์สารีริกธาตุสิริรักษ์ แห่ง วัดพันอ้น ด้านทิศตะวันตก
1799. พระเจดีย์สารีริกธาตุสิริรักษ์ แห่ง วัดพันอ้น
1800. พระเจดีย์สารีริกธาตุสิริรักษ์ แห่ง วัดพันอ้น
1801. พระเจดีย์สารีริกธาตุสิริรักษ์
1803. พระเจดีย์สารีริกธาตุสิริรักษ์ แห่ง วัดพันอ้น
1738. เทวดา ผู้รักษาประตูพระวิหารแห่งวัดพันอ้น
ชมภาพจิตรกรรมฝาผนัง สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง ภายในพระอุโบสถ วัดพันอ้น ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
1764. คุณแม่วันดี จารุจินดา อุบาสีกาผู้อุปถัมภ์บำรุงวัดพันอ้น
1739. สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฎิหาริย์ ปราบพวกเดียรถีย์
1740. พระคันธกุฏี ของพระพุทธเจ้า ในวัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี
1743. พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ที่เมืองกุสินารา
1744. กุสินารา สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
1745. มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
1746. ซากปรักหักพัง มหาวิทยาลัยนาลันทาซึ่งถูกมุสลิมเผาทำลาย
เมื่อ พ.ศ.1700
1747. ประชาชนชาวอินเดีย พากันมา อาบน้ำ ซักผ้า ในแม่น้ำคงคา
เพื่อลอยบาป
1748. ล้อเกวียนยังคงปรากฏให้เห็น และ ยังใช้บริการอยู่ ในประเทศอินเดีย
1749. สถานที่เผาศพ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา
1754. ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ
1756. แม่น้ำเนรัญชรา สถานที่เจ้าชายสิทธัตถะ อธิษฐานจิตให้ถาดทองลอยทวนน้ำ
1757. ภูเขาดงคสิริ สถานที่เจ้าชายสิทธัตถะบำเพ็ญทุกกรกริยา
1758. เจดีย์พุทธคยา สถานที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
1759. เจาวคันธีสถูป สถานที่พบปัญจวัคคีย์ ก่อนแสดงปฐมเทศนา
1760. ธัมมิกสถูป สถานที่แสดงธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร
1761. พระคันธกุฏี ของพระพุทธเจ้า บนยอดเขาคิชฌกุฏ
1762. ถ้ำสุกรบาตา สถานที่พระสารีบุตรฟังธรรมแล้วบรรลุพระอรหันต์
1763. บ้านมารดาของพระองคุลีมาร
1751. พระครูมหาวิกรม อดีตเจ้าอาวาสวัดพันอ้น พ.ศ.2443 - 2485
1753. พระครูศรีปริยัติตยานุรักษ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดพันอ้น พ.ศ.2485 - 2525
1752. พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ
ท่านสามารถชมภาพเหล่านี้ได้ใน พระอุโบสถ วัดพันอ้น ถนนราชดำเนิน
หรือ ถ้าหากวันใดก็ตามท่านได้เดินทางมาเที่ยวถนนคนเดินวันอาทิตย์ จังหวัดเชียงใหม่ ก็แวะเข้าไปชมได้นะครับ
1708. ศาลา พระเจ้าทันใจ และ ครูบาศรีวิชัย
1718. เชิญสักการะบูชา พระเจ้าทันใจ และ ครูบาศรีวิชัย
1730. ประตูแห่งโอกาส แห่ง พระอุโบสถ / พระวิหาร แห่งวัดพันอ้น
1734. การจัดโต๊ะหมู่บูชา
1735. การจัดโต๊ะ 13
1736. การจัดโต๊ะหมู่ 9
1737. การจัดโต๊ะหมู่บูชา
1750.
ท่านผู้รู้กรุณาให้ความรู้ด้วยว่า เรียกว่าอะไร และ มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไรเอ่ย ?
1779. บริเวณที่นั่งด้าน ทิศใต้ ของ พระอุโบสถ / พระวิหาร
1781. กุฏิเจ้าอาวาส
มีความสะอาด และ สงบ มากครับ
1787. บริเวณวัด สะอาด สงบ น่ารื่นรมย์ มากๆๆ
ประตูสีส้มนั้น คือ ประตูทางเข้า-ออก ด้านทิศตะวันตก
และ ด้านซ้ายมือคือห้องสุขาพิมาน ครับ
(ห้องสุขาของวัดต่างๆ บนถนนราชมรรคา และ ถนนพระปกเกล้า เป็นสถานที่รองรับความทุกข์และให้ความสุข (สุขา) สำหรับประชาชนที่มาเที่ยวชมถนนคนเดินวันอาทิตย์ของจังหวัดเชียงใหม่)
1788.
1789.
1790.
1791.
เข้าใจว่า เป็นพิพิธภัณฑ์วัดพันอ้น แต่วันนี้ปิด ไว้โอกาสหน้าจะเข้าไปศึกษาดูว่า มีอะไรบ้างในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ นะครับ
1792.พระุพุทธชินราช และ พระพุทธรูปเก้าตื้อ (จำลอง) ใต้ ต้นโพธิ์ วัดพันอ้น
1794. บริเวณที่นั่งอันร่มรื่น สะอาด และ ร่มเย็นแห่งพระพุทธธรรม
ถ้าในวันอาทิตย์ มีงานถนนคนเดิน จะมีผู้ประกอบการค้าและประชาชนจำนวนมากมายมาใช้เป็นที่นั่ง รับประทานอาหาร ณ ที่แห่งนี้
แผ่นกระดาษ ที่ติดอยู่บนโต็ะ มีข้อความดังนี้
1716. ในหมู่มนุษย์ ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว เป็นผู้ประเสริฐ
1795. บริเวณที่นั่งภายในวัด ร่มเย็น ร่มรื่น
มักจะเห็นชาวต่างประเทศมานั่งพักผ่อน และ อ่านหนังสือด้วยเสมอ
1797. พระพุทธรูปเก้าตื้อ (จำลอง) ใต้ ต้นโพธิ์ วัดพันอ้น
1804. พิพิธภัณฑ์ วัดพันอ้น วันนี้ปิดครับ
1805. ชาวต่างประเทศ นั่งอ่านหนังสือ (นำเที่ยวเชียงใหม่)
บริเวณหน้าวัดพันอ้น มีอะไรบ้างเอ่ย ?
1707. ฝั่งตรงข้ามกับ วัดพันอ้น คือ AUA
ในสมัย Moonfleet เป็นเด็กสถานที่แห่งนี้ คือ สำนักข่าวสารอเมริกัน ที่นี้มีห้องสมุดที่ดี และ มักจะมีการแสดงคอนเสิร์ต หรือ ฉายหนัง บ่อยครั้งที่ได้มาชม
ต้องขอขอบคุณ สำนักข่าวสารอเมริกันที่ได้ให้โอกาสเด็กท้องถิ่นได้สัมผัสในสิ่งที่ดีๆ หลายๆ อย่าง
1706. โรงเรียนสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐ (A.U.A)
1849. ศิลาแลง ก่อกำแพง แข็งแรงดี...กำแพงวัดพันอ้น ด้านทิศตะวันตก
Moonfleet ได้มาเยือน วัดพันอ้น ถนนราชดำเนิน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
วันจันทร์ ที่่ 21 เดือน กันยายน พ.ศ.2552
นพบุรีศรีนครพิงค์เวียงเชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง
วัดพันอ้น
ตอบลบที่ตั้งของวัด
วัดพันอ้น ตั้งอยู่เลขที่ 75 ถนนราชดำเนิน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
โทร 0-5327-8418
พื้นที่ของวัด
วัดพันอ้นตั้งอยู่ในเขต เทศบาลนครเชียงใหม่ มีพื้นที่ปรากฏตาม โฉนดที่ดิน เลขที่ 3526 มีเนื้อที่ทั้งหมด 3 ไร่ 1 งาน 43 ตารางวา ซึ่งมีเนื้อที่ติดกับสถานที่ต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ จรดถนนราชดำเนิน
ทิศใต้ จรดกับคริสต์จักรสามัคคีธรรม และ บ้านพักคลังจังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก จรดถนนราชดำเนินซอย 4
ทิศตะวันตก จรดถนนราชภาคินัย
วัดพันอ้นสร้างขึ้น เมื่อประมาณ พ.ศ.2044 ใน รัชสมัยของพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช (พญาแก้วหรือพระเมืองแก้ว) กษัตริย์ล้านนาองค์ที่ 13 ในสมัยที่ล้านนาไทยยังเป็นอิสระอยู่ในราชวงค์มังรายมหาราช (ซึ่งเสวยราชย์สมบัติปี พ.ศ. 2038 – ปี พ.ศ. 2068 เป็นเวลา 30 ปี)ซึ่งตรงกับแผ่นดินกรุงศรีอยุธยายุคที่ 2 ในแผ่นดินของสมเด็จพระรามาธิปดีที่ 2 (ราชวงศ์สุพรรณภูมิ) ซึ่งเสวยราชปี พ.ศ. 2034 – พ.ศ. 2072 (เป็น ระยะเวลา 38 ปี)
ความหมายของชื่อวัด
คำว่า “พันอ้น” นั้น สันนิษฐานได้ว่าเป็นชื่อผู้สร้างวัดที่ถวายไว้กับพระพุทธศาสนาผู้สร้างเป็น ทหารหรือขุนนางที่มีบรรศักดิ์เป็น “พัน” เพราะคนในสมัยนั้นเมื่อตนเองประสบความสำเร็จในชีวิตมักจะสร้างวัดไว้เป็น อนุสรณ์ และนำชื่อของตนเองเป็นชื่อวัดที่ตนเองสร้างขึ้นด้วย และท่านคงมีนามว่า “อ้น” เมื่อสร้างวัดแห่งนี้เสร็จจึงให้นามว่า “วัดพันอ้น” ตามบรรดาศักดิ์และชื่อของท่าน ซึ่งปรากฏมีวัดจำนวนมากในตัวเมืองเชียงใหม่ที่นิยมใช้ชื่อผู้สร้างวัดเป็น ชื่อของวัดอยู่ด้วยเช่น
วัดหมื่นสาร
วัดหมื่นล้าน
ประวัติการรวมวัด 2 วัด วัดพันอ้นและวัดเจดีย์ควัน
บริเวณที่ตั้งวัดพันอ้น นั้นแต่เดิมนั้นมีวัดอยู่ 2 วัดคือวัดพันอ้น และมีวัดข้างเคียงวัดหนึ่งชื่อว่า วัดเจดีย์ควัน เป็นวัดเล็กๆ อยู่ทางทิศตะวันตกของวัดพันอ้น สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกันและก็เป็นวัดที่มีขนาดแล็กทั้งคู่ และบวกกับระยะนั้นเป็นยุคที่ล้านนารุ่งเรืองด้วยศิลปวัฒนธรรมอย่างยิ่ง มีการสร้างวัดวาอารามขึ้นมากมายในสมัยพระเมืองแก้วนี้ ต่อมาทั้งสองวัดได้รวมเป็นวัดเดียวกันคือ วัดเจดีย์ควันพันอ้น แต่คนทั่วไปมักจะเรียกง่าย ๆ ว่า วัดพันอ้น
จนถึงปี พ.ศ. 2474 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินและสมัยเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 (องค์สุดท้าย) คณะสงฆ์ สมัยนั้น คือหลวงพ่อพระอภัยสารทะ วัดทุงยู เป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ได้พิจารณาเห็นว่า วัดพันอ้น เป็นศูนย์กลางเหมาะสมที่จะตั้งเป็นสำนักเรียนประจำจังหวัดเชียงใหม่ แต่พื้นที่ไม่กว้างขวางและค่อนข้างคับแคบ จึงได้ขยายบริเวณวัดออกไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ของวัดเจดีย์ควันซึ่งตอน นั้นเป็นวัดร้าง ส่วนเจดีย์ควัน ปัจจุบันนี้สภาพของเจดีย์ไม่ปรากฏให้เห็น เพราะในปี พ.ศ. 2498 หลวงพ่อพระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ ได้รื้อเจดีย์ออกแล้วสร้างศาลาการเปรียญแทนซึ่งปัจจุบันปรากฏให้เห็นเพียง หลุมเจดีย์เท่านั้น
ลำดับรายนามเจ้าอาวาส “วัดพันอ้น” ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (เท่าที่สืบค้นได้)
1. ครูบาคันธา พ.ศ. 2423 – 2443 รวมระยะเวลา 20 ปี
2. พระครูมหาวิกรม พ.ศ. 2443 – 2485 รวมระยะเวลา 42 ปี
3. พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ พ.ศ.2485–2526 รวมระยะเวลา 41 ปี
4. พระอธิการดวงดี ฐิตปุญโญ พ.ศ. 2526 – 2531 รวมระยะเวลา 6 ปี
5. พระครูนพบุรารักษ์ จอ. เชียงใหม่ (รก.) พ.ศ. 2531 – 2534 รวมระยะเวลา 3 ปี
6. พระครูอมรธรรมทัต พ.ศ. 2534 – ปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์วัดพันอ้น
เนื่องจากวัดพันอ้นเป็นวัดที่ค่อนข้างเก่าแก่มีประวัติและมีสิ่งต่าง ๆ ภายในวัดที่น่าสนใจ มีความ ร่มรื่นเงียบสงบ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ การคมนาคมสะดวกจึงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวชม กันมากมาย จึงต้องมีแนวทางในการพัฒนาวัด ดังนี้
1.เป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสที่จะต้องจัดแบ่งหน้าที่บุคคลากรภายในวัดให้ช่วยกันดูแลในเรื่องความสะอาดตามสถานที่ต่าง ๆ
2.วัดจัดทำแผ่นพับความรู้เกี่ยวกับวัดที่เป็นทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาและทราบถึงความเป็นมาต่าง ๆ ภายในวัด
3.จัดวางกระถางต้นไม้ทั้งไม้ดอกไม้ประดับให้เป็นระเบียบและสวยงาม
4.จัดวางโต๊ะม้านั่งหินขัดใต้ร่มไม้ภายในบริเวณวัดเพื่อบริการให้ศรัทธาประชาชนมานั่งอ่านหนังสือหรือนั่งพักผ่อน
5.จัดแหล่งเรียนรู้ให้ประชาชน เช่น ทำศาลาที่อ่านหนังสือพิมพ์, ต้นไม้พูดได้ ฯ
ขอขอบคุณข้อมูลวัดพันอ้นจาก
http://watphan-ohn.com/customize_0_14822_TH.html3
ยินดีจ๊าดนักเน้อ ได้หันภาพถ่ายงามๆ จะช่วยนำเอาไปเผยแพร่ ให้รู้ทั่วกัน ขอบคุณเน้อคับ
ตอบลบ