วัดบวกครกหลวง
ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
1540. วัดบวกครกหลวง
1539. วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
1541. ประวัติ วัดบวกครกหลวง
วัดบวกครกหลวง เป็นวัดสังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 24 บ้านบวกหลวง หมู่ที่ 1 ถนนเชียงใหม่-สันกำแพง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 8-0-76 ไร่
วัดบวกครก เดิมชื่อ วัดม่วงคำ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างจึงไม่สามารถที่จะระบุได้ว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่ในวัดบวกครกหลวงมีโบราณสถานที่สำคัญและสถิตคู่วัดบวกครกหลวงแห่งนี้มานานหลายชั่วอายุคน นั้นก็คือ วิหารหลวงหลังงามตามแบบฉบับพื้นเมืองล้านนาที่เด่นสง่าอยู่ในบริเวณวัด และ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงอันทรงคุณค่ายิ่ง โดยกรมศิลปากรได้เข้ามาบูรณะภาพฝาผนัง และ ประมาณอายุของการก่อสร้างของวิหารหลวงหลังนี้ สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 24 ลงมา คำว่่า "บวกครกหลวง" คำนี้เป็นภาษาพื้นเมือง คำว่า "บวก" แปลว่า "หลุม" "ครก" แปลว่าภาชนะตำข้าว คำว่า "หลวง" แปลว่า "ใหญ่" แปลรวมหมายถึง ภาชนะตำข้าวขนาดใหญ่
มีผู้รู้เล่าต่อกันมาว่า ในหมู่บ้านนี้มีหลุมสำหรับตำข้าวขนาดใหญ่ ใช้ตำข้าวเลี้ยงคนจำนวนมากในหมู่บ้าน
บ้างก็บอกว่าลำเหมืองในหมู่บ้าน ครั้งหนึ่งมีน้ำไหลนองและกัดเซาะบริเวณลำเหมืองหน้าวัดเป็นหลุมขนาดใหญ่คล้ายครก ชาวบ้านเรียกว่า บวกครกหลวง
เมื่อประมาณ 200 ปีผ่านมา ชื่อวัดบวกครกหลวงปรากฏในนามในพระคัมภีร์ใบลานของตำนานล้านนาหลายแห่ง แต่เป็นนามว่า วัดบวกครก เท่านั้น คำว่า หลวง ได้รับการขนานนามต่อท้ายชื่อเดิม อาจจะมาจาก 2 นัย ด้วยกัน
โดยนัยแรก ตามที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้น
ส่วนนัยที่ 2 นั้น อาจเป็นเพราะยุคสมัยเปลี่ยนแปลง มีการสร้างถนนสายสันกำแพงตัดผ่านพื้นที่ ทำให้ประชากรของหมู่บ้านไม่สะดวกต่อการมาทำบุญ ของผู้เฒ่า ผู้แก่ ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของถนน จึงมีการสร้างอารามแห่งใหม่ขึ้น ชื่อวัดบวกครกน้อย และ เพิ่มคำว่าหลวงให้แก่วัดบวกครก
วัดบวกครกหลวง มีพระอุโบสถของวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร ปัจจุบันได้ถอนสีมาออกเพื่อความสะดวกในการลงธรรม สังฆกรรม และ การดูแลของคณะสงฆ์ภายในวัด และ กำหนดเขตสีมาขึ้นใหม่ ภายในอาณาบริเวณของที่ตั้งวัดปัจจุบัน และ รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อพุทธศักราช 2497
สันนิษฐานว่า วัด และ เสนาสนะสถาน อันได้แก่ วิหารหลวง พระอุโบสถ ไดัถูกสร้างขึ้นมาก่อนแล้ว และ หลังจากนั้นได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และ ในสมัยรัชกาลที่ 7
วัดบวกครกหลวง ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้งด้วยกัน การบูรณครั้งใหญ่เมื่อปีพุทธศักราช 2468 เจ้านายฝ่ายเหนือ โดยการนำของเจ้าราชภาคินัย บิดาแม่เจ้าจามรีราชเทวี ชายาในเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ได้มีการซ่อมเสาวิหาร ซึ่งเป็นเสาไม้สักขนาดคนโอบไม่รอบซึ่งผุและมีปลวกมากัดกินทำรัง จึงได้ตัดเสาที่ติดกับพื้นซีเมนต์และเทปูนทับเป็นรูปทรงระฆังคว่ำ และ ได้เจาะผนังทำเป็นช่องลมและหน้าต่าง ทำให้ภาพจิตรกรรมฝาผนังหายไปบางส่วน พร้อมกับได้สร้างมุขหน้าวิหารใหม่ โดยได้เสามาจากวัดสวนดอก
ปัจจุบันกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนวัดบวกครกหลวงไว้เป็นโบราณสถาน ตามประกาศขึ้นทะเบียนและ กำหนดขอบเขต ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 97 ตอนที่ 41 ลงวันที่ 14 เดือนมีนาคม พุทธศักราช 2523
นายบุญทา นางคำหน้อย เรือนสติ
พร้อมบุตรหลานสร้างถวาย
มกราคม 2550
1535. ซุ้มป้ายชื่อ วัดบวกครกหลวง
สร้างถวายโดย บริษัท โรงแรมดาราเทวี จำกัด
1536. โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล ดาราเทวี เชียงใหม่
อยู่ใน ซอยเดียวกันกับวัดบวกครกหลวง
1537. วัดบวกครกหลวง
1538. ประตู ทางเข้า - ทางออก กำแพงชั้นนอก วัดบวกครกหลวง
1539. ประตู ทางเข้า - ทางออก กำแพงชั้นใน วัดบวกครกหลวง
1542. พระวิหาร แห่ง วัดบวกครกหลวง
1543. พระประธาน แห่ง พระวิหาร วัดบวกครกหลวง
ในวันนี้ วันอาทิตย์ ที่ 20 เดือนกันยายน พ.ศ.2552 เข้าใจว่า มีสาธุชนกลุ่มหนึ่งได้มาทำบุญสืบชะตา ต่ออายุ หรือ สะเดาะเคราะห์ ภายใน พระวิหารในวันนี้
(เวลาประมาณ 10.00 น)
1544. บริเวณภายใน พระวิหาร แห่ง วัดบวกครกหลวง
ยังสามารถมองเห็นภาพจิตรกรรม บนฝาผนังแห่งพระวิหารได้ ไว้โอกาสหน้า หรือ มีโอกาส จะได้มา ถ่ายภาพจิตรกรรมอีกครั้ง
จาก เวป "พลังจิต"
:http://board.palungjit.com/members/145905-albums1538.html
ได้เขียนอธิบายไว้ว่า
วัดบวกครกหลวง ตั้งอยู่ที่ บ้านบวกครกหลวง ถนนเชียงใหม่-สันกำแพง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ มีจุดเ่ด่นอยู่ที่ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในวิหารไม่เก่าแก่ เขียนเรื่องพุทธประวัติและชาดกนิบาตจำนวน ๑๔ ห้องภาพ โดยฝีมือช่างไตชาวล้านนา วาดขึ้นมาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ความสวยงามของภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกได้รับการยกย่องจากอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ว่าเป็นภาพเขียนที่ใช้ีันสดใสจัดจ้าน ท่าทีการใช้แปรงเหมือนกับภาพเขียนของอัครศิลปินผู้ยิ่งใหญ่อย่างแวนโก๊ะ จิตรกรแนวอิมเพรสชั่นชาวดัตซ์
นอกจากนี้นาคหน้าประตูเข้าพระวิหารทำเป็นรูปมกรอมนาคซึ่งนาคมีลักษณะเหมือนจะงอยปากนกแก้ว หรือจะงอยปากครุฑ วิหารมีองค์ประกอบสถาปัตยกรรมล้านนาที่สวยงามยิ่ง
1550. พระวิหาร วัดบวกครกหลวง
1555. พระวิหาร แห่ง วัดบวกครกหลวง
1556. พระวิหาร แห่ง วัดบวกครกหลวง
1557. พระวิหาร แห่ง วัดบวกครกหลวง
1558. พญานาค คู่ แห่ง ประตูทางเข้า-ออก พระวิหาร วัดบวกครกหลวง
นาคหน้าประตูเข้าพระวิหารทำเป็นรูปมกรอมนาค
ซึ่งนาคมีลักษณะเหมือนจะงอยปากนกแก้ว หรือจะงอยปากครุฑ
วิหารมีองค์ประกอบสถาปัตยกรรมล้านนาที่สวยงามยิ่ง
1559. นาคา แห่ง ประตูวิหาร เบื้องซ้าย
1560. นาคา แห่ง ประตูวิหาร เบื้องขวา
1561.
1565. พระวิหาร แห่ง วัดบวกครกหลวง
1545. หอธรรม
1546. กุฏิพระภิกษุสงฆ์ และ หอระฆัง แห่ง วัดบวกครกหลวง
1551.พระอุโบสถ แห่ง วัดบวกครกหลวง
1554. พระอุโบสถ แห่ง วัดบวกครกหลวง
1563. พระอุโบสถ แห่ง วัดบวกครกหลวง
1547. พระเจดีย์ แห่ง วัดบวกครกหลวง
1548. พระเจดีย์ แห่ง วัดบวกครกหลวง
1549. พระเจดีย์ แห่ง วัดบวกครกหลวง
1552. วิหารคต วัดบวกครกหลวง
1553. วิหารคต วัดบวกครกหลวง
1562. ประตูทางเข้า-ออก กำแพงชั้นใน วัดบวกครกหลวง
1564. วิหารคต วัดบวกครกหลวง
1566. วัดบวกครกหลวง
1567. ต้นยางนา แห่ง วัดบวกครกหลวง
1568.
1572.
1569. สนามกีฬา อยู่ภายในบริเวณวัดบวกครก
มีรถ TXI ใช้เป็นที่สำหรับจอดอยู่หลายคัน
และ ที่อยู่เลยออกไป เห็นเป็น ยอดคล้ายเจดีย์นั้น คือ โรงแรม ดาราเทวี
1570. อยู่เลยวัดบวกครกไป คือ โรงแรม โอเรียนเต็ล ดาราเทวี เชียงใหม่
1571.
1573. ประตู ทางเข้า-ทางออก ชั้นนอก วัดบวกครกหลวง
Moonfleet ได้มาเยือน วัดบวกครกหลวง ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
วันอาทิตย์ ที่ 20 เดือนกันยายน พ.ศ.2552
นพบุรีศรีนครพิงค์เวียงเชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น