วัดธาตุคำ
14 ถ.สุริวงค์ ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่
7446. วัดธาตุคำ
7447. ขอเชิญร่วมทำบุญ ถวายทานสลากภัตต์ และ อายุวัฒนมงคล ของ ท่านพระครูอดุลสีลกิตต์ วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ.2552 เวลา 09.00 - 15.00 น. ณ วัดธาตุคำ ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่
7448. เชิญ นมัสการ ขอพรเพื่อความสำเร็จสมความปรารถนาจากพระเจ้าเงินล้าน องค์ศักดิ์สิทธิ์ของวัดธาตุคำ
7449.
7452.
7453. พระเจดีย์ แห่ง วัดธาตุคำ ที่ ศักดิ์สิทธิ์ สวยงาม
7454.
7455. เจดีย์ แห่ง วัดธาตุคำ
7456.
7457. เจดีย์
7458.
7459.
7460.
7461.
7462.
7463.
7464.
7465.
7466.
7467. ประวัติวัดธาตุคำ
7468.
บทคัดย่อ : วัดธาตุคำ เดิมเป็นวัดใหญ่ สันนิษฐานว่าคงเป็นวัดที่กษัตริย์สร้างขึ้น โดยสังเกตจากพระพุทธรูปประธานในวิหารซึ่งเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ สวยงามตามศิลปะเชียงแสน หากเป็นชาวบ้านทั่วไปคงไม่สามารถสร้างพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ได้ใหญ่โตขนาดนี้ เพราะจะต้องอาศัยกำลังทร
วัดธาตุคำ เดิมเป็นวัดใหญ่ สันนิษฐานว่าคงเป็นวัดที่กษัตริย์สร้างขึ้น โดยสังเกตจากพระพุทธรูปประธานในวิหารซึ่งเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ สวยงามตามศิลปะเชียงแสน หากเป็นชาวบ้านทั่วไปคงไม่สามารถสร้างพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ได้ใหญ่โตขนาดนี้ เพราะจะต้องอาศัยกำลังทรัพย์เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นพระพุทธรูปประธานของวัดธาตุคำยังเป็นพระที่ทำจากสัมฤทธิ์เพียงวัดเดียวในตำบลหายยา
วัดธาตุคำเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในเมืองเชียงใหม่ เมื่อก่อนนี้ยังไม่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลาย แต่ในปัจจุบันบ้านเมืองได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น วัดวาอารามต่าง ๆ จึงเป็นที่สนใจของบรรดานักประวัติศาสตร์รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเมื่อมาเที่ยวชมวัดนี้ต่างก็ถามหาประวัติของวัด แต่ก็ไม่หลักฐานปรากฏแน่ชัด คงมีเพียงตำนานที่บอกเล่าสืบต่อกันมาเพียงนิดหน่อยไม่สามารถปะติดปะต่อเป็นเรื่องราวโดยสมบูรณ์
จารึกในโครงนิราศหริภุญชัยบทที่ 30 ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงวัดนี้ว่า "..เรียงนั้นอาวาสแก้ว กุฏีคำ ทุกข์ตำงมเรียมจำ เจตน์ไหว้ เทพาพิทักษ์ทำ พุทธศาสน์ เอ่ จำเจตน์นงน้องไท้ รีบร้า เดินดล.."จากจารึกดังกล่าวทำให้ทราบว่า วัดธาตุ เดิมชื่อวัดกุฏีคำ ชาวบ้านสมัยก่อนจะเรียกว่า "วัดใหม่" วัดนี้ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างกำแพงเมืองชั้นในกับกำแพงเมืองชั้นนอก (กำแพงดิน) แต่เดิมวัดนี้มีอาณาบริเวณกว้างขวางมาก แต่เมื่อมีการตัดถนนสุริยวงศ์ จากประตูเชียงใหม่ไปประตูก้อมทำให้เนื้อที่ของวัดทางด้านทิศตะวันออกส่วนหนึ่งกลายเป็นที่ของเอกชน
วัดธาตุคำ เดิมเป็นวัดใหญ่ สันนิษฐานว่าคงเป็นวัดที่กษัตริย์สร้างขึ้น โดยสังเกตจากพระพุทธรูปประธานในวิหารซึ่งเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ สวยงามตามศิลปะเชียงแสน หากเป็นชาวบ้านทั่วไปคงไม่สามารถสร้างพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ได้ใหญ่โตขนาดนี้ เพราะจะต้องอาศัยกำลังทรัพย์เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นพระพุทธรูปประธานของวัดธาตุคำยังเป็นพระที่ทำจากสัมฤทธิ์เพียงวัดเดียวในตำบลหายยา ส่วนวัดอื่น ๆ นั้นเป็นพระพุทธรูปที่ก่อจากอิฐถือปูน แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่มีจารึกที่ฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด ขณะเดียวกันนักประวัติศาสตร์ล้านนาต่างลงความเห็นว่า "วัดกุฏีคำ" หรือ "วัดธาตุคำ" อาจเป็นพระอารามหลวงของเมืองเชียงใหม่ที่พระมหากษัตริย์สร้างขึ้นและคงเป็นวัดสำคัญเพราะมีลักษณะแปลกกว่าทุกวัดคือ การก่อสร้างวิหารและพระธาตุนั้นได้พูนดินขึ้นสูงประมาณ 3 เมตร ทำให้เป็นเขตพุทธาวาสที่มีขนาดกว้าง 60 เมตร ยาวเกือบ 100 เมตร ซึ่งในเมืองเชียงใหม่พบว่าการสร้างวิหารและพระธาตุบนเนินดินนั้นมีเพียง 2 วัด คือ วัดบ้านปิง ต.ศรีภูมิและวัดธาตุคำเท่านั้น
นอกจากนั้นในตำนานมูลศาสนายังปรากฏชื่อของ "มหาติปิฏกสังฆราช" ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดกุฏีคำ เมื่อครั้งที่พระเจ้าติโลกราช กษัตรย์ราชวงศ์มังรายลำดับที่ 10 ได้นิมนต์จากวัดกูฏีคำไปเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนดอก โดยได้จารึกด้วยอักษรล้านนา ความว่า "..มหาญาณรังษีรักษาวัดสวนดอกได้ 70 วัสสา ก็สิ้นอายุในปีกดสง้า (จุล) ศักราชได้ 802 ตัว (พ.ศ.1988) ท้าวล้านนาก็นำเอาติปิฏกสังฆราชวัดกุฏีคำมาไว้แทนในปีนั้นแล.." ทำให้ทราบว่าวัดกุฏีคำนั้นก่อสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์มังราย มีอายุนานกว่า 600 ปี
ภายหลังจากที่เมืองเชียงใหม่ถูกพม่าปกครอง (พ.ศ.2101 - 2325) วัดกุฏีคำถูกทิ้งให้รกร้าง กระทั่งพระเจ้ากาวิละได้อพยพเอาชาวไทลื้อ ไทเขิน จากสิบสองปันนาและเชียงตุงมาอยู่เชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2347 เจ้าสารัมพยภูมินนรินทราเขมาธิปติราชา เจ้าผู้ครองนครเชียงตุงได้อพยพเข้ามาอยู่เชียงใหม่พร้อมไพล่ฟ้าประชาชนอีกเป็นจำนวนมาก ทางเชียงใหม่จึงได้จัดให้อยู่ในกำแพงเมืองชั้นในด้านทิศใต้ บริเวณวัดนันทาราม วัดยางกวงและวัดกุฏีคำ ซึ่งขณะนั้นเหลือแต่เนินวิหารและองค์เจดีย์ เมื่อมาอยู่เชียงใหม่ท่านจึงได้เริ่มบูรณะวัดนันทารามและวัดยางกวงก่อน เมื่อประชาชนพลเมืองเพิ่มมากขึ้น มีเจ้านายและลูกหลานสายเจ้าแสนเมืองซึ่งเป็นน้องชายของเจ้าสารัมพยะ ได้อพยพเข้ามาพร้อมกับตั้งบ้านเรือนอยู่ข้างวัดกุฏีคำ จึงได้ช่วยกันบูรณะวัดร้างขึ้น เรียกกันทั่วไปว่า "วัดใหม่" เพราะบูรณะทีหลังวัดนันทารามและวัดยางกวง
วัดกุฏีคำ เปลี่ยนชื่อมาเป็น "วัดธาตุคำ" เพราะเหตุผลว่าภายในวัดไม่มีกุฏีคำปรากฏแล้ว เหลือแต่เพียงองค์พระธาตุอยู่จึงให้ชื่อใหม่ว่าวัดธาตุคำ ทั้งนี้เพราะพระธาตุอง๕เดิมบุด้วยทองจังโก กระทั้งปี พ.ศ.2477 แผ่นทองได้ปลิวหายไปเป็นจำนวนมาก ทางเจ้าอาวาสจึงได้เก็บรวบรวมทองที่เหลือแล้วนำไปฝังไว้ จากนั้นจึงได้ซ่อมแซมบูรณะองค์พระธาตุ โดยได้นำทองมาปิดไว้ให้เหมือนกับเมื่อครั้งในอดีต
จักรพงษ์ คำบุญเรือง
Resource:http://www.lannacorner.net/lanna2008/article/article.php?type=A&ID=574
Moonfleet ได้มาเยือน วัดธาตุคำ ตำบล หายยา อำเภอ เมือง จังหวัดเชียงใหม่
:วันจันทร์ ที่ 3 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2552
เชียงใหม่ นครแห่งชีวิต และ ความมั่นคั่ง
"เชียงใหม่และลำพูนยังอยู่ในเทศกาล ลำไย อยู่นะครับ
ช่วยกัน รับประทาน ลำไย ที่อร่อยที่สุดในโลก ด้วยการ ทำอาหารที่มีส่วนประกอบคือลำไย ของหวานลำไย หรือ ซื้อเป็นของฝากจากเชียงใหม่และลำพูนฝากคนที่ท่านรัก เพื่อนที่ท่านชอบ และ ญาติที่ท่านนับถือด้วยนะครับ"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น