วัดศรีสุพรรณ ถ.วัวลาย ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ : อุโบสถเงิน ศาสนสถานหลังแรกของโลก
วัดศรีสุพรรณ
ถ.วัวลาย ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่
7827.
วัดศรีสุพรรณ ถ.วัวลาย ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โรงเรียนเทศบาลวัดศรีสุพรรณ
กองการศึกษา (เทศบาลนครเชียงใหม่)
7829. ชุมชน วัดศรีสุพรรณ
7833. วิหาร แห่ง วัดศรีสุพรรณ ถ.วัวลาย อ.เมือง จ.เชียงใหม่
7834. WELCOME TO WATSRISUPHAN WAULAI ROAD
7835. ศาลาบำเพ็ญบุญ แห่ง วัดศรีสุพรรณ
7839. วิหาร แห่ง วัดศรีสุพรรณ
7837. พัทธสีมา 500 ปี วัดศรีสุพรรณ
7840. ข่วงบุญ แห่ง วัดศรีสุพรรณ
7841. อุโบสถเงิน ศาสนสถานหลังแรกของโลก เพื่อฝากศิลป์แก่แผ่นดินล้านนา กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง...
7842. บันไดทางขึ้น-ลง อุโบสถเงิน แห่ง วัดศรีสุพรรณ ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
7843. อุโบสถโลหะเงิน แห่ง วัดศรีสุพรรณ
7848. ขออภัย สุภาพสตรีห้ามขึ้น
7849. อุโบสถโลหะเงิน แห่งวัดศรีสุพรรณ ในช่วงเวลาแห่งการสร้างสรรค์และก่อสร้างสุดยอดแห่งงานศิลป์เพื่อฝากไว้ในแผ่นดินถิ่นล้านนา
7851. พระประธาน ใน อุโบสถโลหะเงิน แห่ง วัดศรีสุพรรณ จ.เชียงใหม่
7852. พระประธาน แห่ง อุโบสถโลหะเงิน วัดศรีสุพรรณ
7853. พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสูงสุด....
7854.
7855.
7856.อุโบสถโลหะเงิน แห่งวัดศรีสุพรรณ ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างสรรค์
7857. อุโบสถโลหะเงิน แห่งวัดศรีสุพรรณ ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างสรรค์
7858. ท่านสาธุชน ที่ยังไม่ได้ร่วมบุญสร้างอุโบสถโลหะเงิน แห่ง วัดศรีสุพรรณ ท่านยังมีโอกาสได้ร่วมบุญอยู่ในขณะนี้ ถ้าสร้างเสร็จแล้วท่านจะหมดโอกาสที่จะได้ร่วมบุญในการสร้างอุโบสถโลหะเงินนี้ ที่จะเป็น 1 ในผลงานสร้างสรรค์ที่จะฝากไว้กับแผ่นดินล้านนาไปอีกนับพันปี
สำหรับท่านที่ได้ร่วมบุญในการสร้างอุโบสถโลหะเงินนี้ไม่ว่าจะด้วย กำลังทรัพย์ กำลังความคิด และ กำลังแรงงานในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะนี้ ผมขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ
7865. อุโบสถเงิน แห่งแรก ของโลก
7866. อุโบสถโลหะเงิน ผลงานทางศิลปะชั้นเยี่ยม
7867. เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ
7868.
7869.
7870.
7871.
7872.
7874.
7875. พระประธานใ วิหาร แห่ง วัดศรีสุพรรณ
7876.
7877.
7879.
7881. วันนี้ มีชาวต่างประเทศชายหญิง 1 คู่ ได้มานั่งสมาธิในวิหารแห่งวัดศรีสุพรรณ
7887. พระประธาน ใน วิหาร แห่ง วัดศรีสุพรรณ
7888.
7897.
7899.
7900.
7902.
7903.
7904.
7907.
7909.
7910.
7914.
7919.
7918.
7925.
7926.
7927.
7929.
7931.
7930.
ประวัติวัดศรีสุพรรณ
“วัดศรีสุพรรณ” ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเชียงใหม่นอกเขตกำแพงเมืองชั้นใน หรือที่เรียกกันว่าคูเมือง และตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองชั้นนอก หรือแนวกำแพงเมือง เลขที่ 100 ถนนวัวลาย ตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่ มีเนื้อที่ 7 ไร่ 2 งาน 10 ตารางวา รวมทั้งบริเวณอันเป็นที่ของโรงเรียนเทศบาลวัดศรีสุพรรณด้วย
วัดศรีสุพรรณ เป็นวัดที่มีประวัติยาวนาน ปัจจุบันคงเหลือร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ทั้งทางด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรมของล้านนาโบราณอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งปรากฏในรูปแบบต่างๆคือ “หลักศิลาจารึกประวัติวัด” ที่จารึกด้วยอักษรฝักขามบนหินทรายแดง
ตามหลักศิลาจารึกของวัดศรีสุพรรณกล่าวไว้ว่า ในปี พ.ศ.2043 พระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช หรือพระเมืองแก้ว กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ ในราชวงศ์มังราย และพระนางสิริยสวดี พระราชมารดาเจ้า โปรดเกล้าให้เจ้าหมื่นหลวงจ่าคำมหาอำมาตย์ นำพระพุทธรูปทองสำริดองค์หนึ่ง ซึ่งก็คือ “พระพุทธปาฏิหาริย์” หรือ “พระเจ้าเจ็ดตื้อ” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสนผสมสุโขทัย มาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ ในคราวสร้างวัดชื่อว่า “วัดศรีสุพรรณ”
วัดศรีสุพรรณอาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาจากพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช และอาราธนาพระสงฆ์ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.2052
สำหรับพระเจ้าเจ็ดตื้อ ที่มีอายุราว 509 ปีนี้ มีตำนานเล่าขานถึงการแสดงพุทธปาฏิหาริย์ นำความสำเร็จสมความปรารถนาแก่ผู้มาอธิษฐานจิต โดยเฉพาะผู้หญิง เป็นที่เคารพสักการะแก่ศรัทธาประชาชนเป็นอันมาก
นอกจากพระพุทธปาฏิหาริย์ ที่มีความเก่าแก่แล้ว “หอไตร” ก็เป็นอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมล้านนาโบราณ ที่ใช้เป็นสถานที่เก็บคัมภีร์ใบลาน และใช้ประโยขน์อื่นๆของวัด
“วิหาร” ก็เป็นสถาปัตยกรรมล้านนาโบราณเช่นเดียวกัน สร้างในสมัย “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” โดยพระเจ้ากาวิโรรส เมื่อประมาณ พ.ศ.2342 พระครูพิทักษ์สุทธิคุณ (สุพล สุทุธสีโล) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้ทำการปฏิสังขรณ์ผสมศิลปะร่วมสมัย โดยรักษาของที่มีอยู่เดิม
แล้วเพิ่มเติมงานศิลป์ชุดใหม่ คือ ภาพโพธิปักขิย ภาพเมืองนิพพาน ภาพ 12 พระธาตุประจำปีเกิด ภาพพุทธจักรวาล โดยใช้สีโทนทอง และสร้างภาพชุดทศชาติด้วยฝีมือช่างเครื่องเงินภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านศรีสุพรรณ โดยทำด้วยอลูมิเนียมทำให้โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ วิหารหลังนี้ใช้เป็นศูนย์กลางประกอบศาสนกิจของวัดในปัจจุบันมาโดยตลอด
ในส่วนของ “พระบรมธาตุวัดศรีสุพรรณ” เป็นเจดีย์ที่ก่ออิฐถือปูนแบบล้านนา ฝีมือช่างหลวง ทรงองค์ระฆังกลม ตั้งบนฐานดอกบัวคว่ำบัวหงายแปดชั้นแปดเหลี่ยม ตั้งบนฐานรองรับทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สามสิบหก ได้มีการบูรณะมาหลายครั้งแล้ว
และด้วยความเก่าแก่ของวัดทำให้อุโบสถเดิมได้ชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา ไม่เอื้อต่อการประกอบศาสนกิจ ของพระสงฆ์ กอปรกับกลุ่มศิลป์ล้านนาวัดศรีสุพรรณ ชมรมส่งเสริมสล่าล้านนา มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่ต้องการจะสืบสาน ส่งเสริมภูมิปัญญาหัตถกรรมเครื่องเงิน ถนนวัวลาย ดังนั้นเมื่อ พ.ศ. 2547 จึงมีแนวคิดสร้าง อุโบสถเงินหลังแรกของโลก ให้เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา
โดย “อุโบสถเงิน” หลังนี้ใช้วิธีการก่อสร้างจากฐานและพัทธสีมาและพระพุทธประธานในอุโบสถหลังเดิม ลักษณะเป็นอุโบสถรูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนา ก่อด้วยอิฐถือปูน ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 17.50 เมตร สูง 18 เมตร ประดับตกแต่งสลักลวดลายแนวประเพณีล้านนา ภายในศิลปกรรมแสดงถึงการเคารพสักการะพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ ส่วนภายนอกศิลปกรรมแสดงสัญลักษณ์ของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ซึ่งลวดลายทุกส่วนล้วนสลักตกแต่งด้วยภูมิปัญญาเครื่องเงิน โดยใช้กรรมวิธี บุ คุนลวดลายด้วยแผ่นเงิน เงินผสม และวัสดุแทนเงิน(อลูมิเนียม) ทั้งภายในภายนอกรวมทั้งหลัง โดยถือว่าอุโบสถเงินหลังนี้จะเป็นแหล่งรวบรวมลวดลายศิลปะล้านนาและลวดลายประจำท้องถิ่น แม้ขณะนี้จะยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์แต่ก็มีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมและกราบไหว้อยู่สม่ำเสมอ
ปัจจุบันวัดศรีสุพรรณ ยังเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นงานช่างสิบหมู่ สืบสานงานศิลป์จากภูมิปัญญาแห่งแผ่นดินสู่งานศิลป์ช่างสิบหมู่ ส่งเสริมการท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์ภูมิปัญญาพัฒนาสืบสานจารีตประเพณีท้องถิ่น สร้างฐานเศรษฐกิจชุมชนหัตถกรรมสล่าล้านนาอาทิ สล่าเงิน สล่าแกะ และสล่าหล่อ ฯลฯ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล
Moonfleet ได้มาเยือน วัดศรีสุพรรณ ถ.วัวลาย ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่
วันเสาร์ ที่ 8 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2552
เชียงใหม่ นครแห่งชีวิต และ ความมั่งคั่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น