วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

004. วัดกู่คำ ตำบล วัดเกตุ อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงใหม่

วัดกู่คำ
220 ถนนแก้วนวรัฐ ต.วัดเกตุ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
รวมพื้นที่ 4 ไร่ 1งาน 35 ตารางวา

สถานที่สำคัญใกล้เคียง
1.สถานีขนส่งอาเขตต์ เชียงใหม่
2.ธนาคารอาคารสงเคราะห์
3.ศาลแขวง ศาลอุธรณ์ (ศาลเด็กเก่า) จังหวัดเชียงใหม่
4.เชียงใหม่บิสิเนสปาร์ค หรือ คาร์ฟูร์



3660. วัดกู่คำ




3662. ประตูทางเข้าวัดกู่คำ เข้ามาจากทาง เชียงใหม่อาเขตต์





3663. โรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ สำนักการศึกษาเทศบาลนครเชียงใหม่







3664. หลังคาสีแดง ที่อยู่ไกลออกไป เข้าใจว่า เป็น ธนาคารอาคารสงเคราะห์สาขาเชียงใหม่ และ หลังคาสีเขียว คือ ศาลแขวง หรือ ศาลอุธรณ์จังหวัดเชียงใหม่ แต่ คนเชียงใหม่มักจะเรียกชื่อเก่า คือ ศาลเด็ก....







3665. ถนนทางเข้า สถานีขนส่งผู้โดยสาร เชียงใหม่อาเขตต์....




3667.




วิหาร วัดกู่คำ




3577. กุฏิของพระและเณร...




3598. มีงานบำเพ็ญกุศลให้กับผู้ที่กำลังจะเดินทางข้ามภพ.....






3625. พระประธาน ที่ประดิษฐานในศาลา...





3626. ขอให้ดวงวิญญาณของท่านเดินทางไปสู่ สุคติภพ.....





3641. อาจารย์....




3627. วิหารวัดกู่คำ จากอีกมุมหนึ่ง....





3643. ครูบา บุญปั๋น ปัญญาทีโป อดีตเจ้าอาวาสวัดกู่คำ




3644.




3646. วิหารในอีกมุมมองหนึ่ง....





3648. ศาลาสามัคคีธรรม




3649. โรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ สำนักการศึกษาเทศบาลนครเชียงใหม่





3650. ทางเข้าวิหาร ด้านทิศเหนือ





3651. พระธาตุ หรือ เจดีย์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของ วิหาร




3652. ประวัติวัดกู่คำ

ประวัติวัดกู่คำ

วัดกู่คำตั้งอยู่เลขที่ 220 ถนนแก้วนวรัฐ ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พื้นที่ ของวัดตามหลักฐาน เป็นโฉนดที่ดินอยู่ 2 แปลง โฉนดที่ ๕๒๖๓ เล่ม ๕๓ ม. หน้า ๖๓ เนื้อที่ 4 ไร่ 15 ตารางวา และ โฉนดที่ดิน ๕๒๖๔ เล่ม ๕๓ ม. หน้า ๖๔ (ที่ธรณีสงฆ์) เนื้อที่ 1 งาน 20 ตารางวา (ปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ) รวมพื้นที่บริเวณของวัดทั้งสิ้น 4 ไร่ 1 งาน 35 ตารางวา

วัดกู่คำมี อดีตการสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.1920 โดยไม่มีการบันทึกให้ทราบชัดเจนมากนัก นอกจากรอยดินสอที่บันทึก พ.ศ. การตั้งวัดไว้บนโฉนดที่ดินของวัด กับ ประวัติที่เล่าสืบทอดต่อกันมาว่า

เดิม ณ ที่แห่งนี้ มีซากเจดีย์เ่ก่าแก่ ที่เป็นซากกองอิฐปรักหักพังทับถมกันอยู่คล้ายกู่ หรือ เจดีย์ร้างครึ่งองค์ ที่มีขนาดไม่ใหญ่โตมากนัก ซึ่งชาวบ้านพากันเรียกกันว่า "กู่"

ต่อมามีชาวจีนชื่อแดง หรือ ชื่อที่ทราบมาภายหลังที่จารึกไว้ในคัมภีร์ธรรมล้านนาว่า "หลวงขจัด ทัณฑนิกร" ได้ร่วมกับชาวบ้านช่วยกันบูรณะองค์กู่ หรือ เจดีย์ให้เต็มองค์ขึ้น หลังจากนั้นได้นิมนต์พระสงฆ์มาอยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ และ พากันเรียกตามชื่อชาวจีนที่มาบูรณะว่า "วัดกู่แดง"

ต่อมามีการก่อ สร้างบูรณะถาวรวัตถุเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง ชาวบ้านจึงเห็นพ้องต้องกันว่า ควรเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่า "วัดกู่คำ" และ ได้ใช้ชื่อนี้เป็นต้นมา ในปี พ.ศ.2440 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตั้งเป็นวัดที่ถูกต้อง ขึ้นทะเบียนของกรมการศาสนาสังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ให้ชื่อว่า"วัดกู่คำ" มาจวบจนกระทั่งทุกวันนี้




3657. วัดกู่คำ





3658. วัดกู่คำ




3659. สภาพแวดล้อมของวัดกู่คำ อันน่ารื่นรมณ์ สงบ






3666. ที่ทำการชุมชน วัดกู่คำ ศาลาเอนกประสงค์ 60 ปีครองราช
โครงการพัฒนาชุมชนวัดกู่คำ S.M.L






3668. วัดกู่คำ อีกมุมมองหนึ่ง...





3669. วัดกู่คำ อีกมุมมองหนึ่ง...






3670. ประตูวิหาร




3674. โรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ


Moonfleet
:ได้มาเยี่ยมเยือนและบันทึกภาพไว้ เมื่อ วันอาทิตย์ ที่ 12 เดือน กรกฏคม พ.ศ.2552




เชียงใหม่ นครแห่งชีวิต และ ความมั่งคั่ง




Moonfleet
:ได้มา ใน วันอาทิตย์ ที่ 12 เดือน กรกฏคม พ.ศ.2552
จึงได้บันทึกไว้ในที่นี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น